|
อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลนาโสก ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖
๑ เทศบาลตำบลนาโสกมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลตำบลนาโสก ดังต่อไปนี้
๑) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๒) ให้มีและบํารุงทางบกและทางน้ำ
๓) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
๔) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
๕) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
๖) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
๘) บํารุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
๙) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
๒ เทศบาลตำบลนาโสก อาจจัดทํากิจกรรมใด ๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
๑) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
๒) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
๓) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
๔) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
๕) บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร
๖) ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษะรักษาคนเจ็บไข้
๗) ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
๘) ให้มีและบํารุงทางระบายน้ำ
๙) เทศพาณิชย์
๓. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ มีดังต่อไปนี้
๑) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
๒) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
๓) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
๔) การสาธาณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
๕) การสาธารณูปการ
๖) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
๗) การพาณิชย์ และส่งเสริมการลงทุน
๘) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
๙) การจัดการศึกษา
๑๐) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส
๑๑) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
๑๒) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
๑๓) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
๑๔) การส่งเสริมกีฬา
๑๕) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๑๖) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
๑๗) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
๑๘) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลแลน้ำเสีย
๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
๒๐) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
๒๑) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
๒๒) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
๒๓) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพและสาธารณูปโภคสถานอื่น ๆ
๒๔) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๒๕) การผังเมือง
๒๖) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
๒๗) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
๒๘) การควบคุมอาคาร
๒๙) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๓๐) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกัน และรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๓๑) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด